การประชาสัมพันธ์โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
การประชาสัมพันธ์โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
การประชาสัมพันธ์โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด
วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ 2566 นายศิริโชค แก่นการ นักวิชาการเกษตร จากสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร และนายอุทิศ คำพระโคตร นายกเทศมนตรีตำบลนาแก้ว ได้ทำการมอบ ปอเทือง แก่ประชาชนในตำบลนาแก้ว เพื่อใช้ในการเกษตรปรับปรุง บำรุงดิน ป้องกันหน้าดินพังทลาย ให้เหมาะสมต่อการเกษตร
ความหมายและสัญลักษณ์ของ อถล.
อถล. เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในท้องถิ่นที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
“อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” หมายความว่า ประชาชนที่มีจิตอาสา สมัครใจ เสียสละ และอุทิศตน เพื่อช่วยเหลืองานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้อง และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ชื่อย่อว่า “อถล.” มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า “Local Environment Volunteer” และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “LEV”
“เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” หมายความว่า การเชื่อมโยงกันของ อถล. เพื่อการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร หรือทํากิจกรรมร่วมกัน ในการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้วยความเป็นอิสระและเท่าเทียมกันของบุคคล ภายใต้พื้นฐานการเคารพสิทธิและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และใช้หลักธรรมาภิบาลในการทํางานร่วมกัน โดยใช้ชื่อย่อว่า “เครือข่าย อถล.” และเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า “Local Environment Volunteer Network” และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “LEV-Net"
*****************************************
ด้วยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีการริเริ่มโครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ เพื่อลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลัก 3Rs : Reduce Reuse และ Recycle (ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่) และช่วยปกป้อง รักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินการดังกล่าวจะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน ในการเริ่มจากการปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก การเรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับเยาวชน การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับประชาชน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) คือ บุคคลที่มีความสนใจ มีความสมัครใจ มีความเสียสละและอุทิศตนในการทำงานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน ซึ่งบุคคลที่จะสมัครเป็น อถล. ได้จะต้องมีคุณสมบัติในเบื้องต้น ดังนี้
อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์
(3) มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
(4) มีความสมัครใจและมีจิตอาสาเข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย รวมถึงการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม
(5) เป็นบุคคลที่มีความเสียสละและอุทิศตัวในการทำงานเพื่อส่วนรวม
(6) เป็นบุคคลที่ตระหนักถึงการทำงานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ
(7) เป็นบุคคลที่เปิดโอกาสให้กับตัวเองและผู้อื่นในการแสวงหาความรู้ และเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
*** กรณีที่ผู้สมัครไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย ให้คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครรักษ์โลกระดับท้องถิ่น เป็นผู้พิจารณารับสมัครเป็น อถล.
งานวันวิสาขบูชา
จังหวัดสกลนคร ได้จัดงานวันวิสาขบูชาเพื่อเป็นการบูชาเนื่องในวัน "วิสาขบุณมี" หรือวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566 โดยเทศบาลตำบลนาแก้ว นำโดย นายพัยทูล เจริญคร รองนายกเทศมนตรีตำบลนาแก้ว นำคณะข้าราชการ พนักงานจ้าง เข้าร่วมกิจกรรม ณ ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
«ความเป็นมาและความหมายของวันวิสาขาบูชา»
« วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท
« วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
« วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
« วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากล" (International Day) ตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 54/112 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือ ความจริงของโลก แก่ชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 นี้ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พศ.2566 นายอุทิศ คำพระโคตร นายกเทศมนตรี ได้มอบหมายให้ นายทิวา นนท์ไพวัลย์ นิติกร ร่วมกับเกษตรอำเภอโพนนาแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน ม.10และผู้แทนทุกภาคส่วน เพื่อประชาคมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน " ประชาคมการขอใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์เป็นที่ตั้งที่ทำการสำนักงานเกษตรอำเภอโพนนาแก้ว" ณ วัดทุ่งกลางใหม่ หมุ่10 ต.นาแก้ว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร